วันพุธที่ 10 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สิงห์หลวงพ่อเดิม

  สิงห์หลวงพ่อเดิม

“งาช้างแกะ หลวงพ่อเดิม” ที่แกะเป็นองค์พระจะมี “พระปิดตา” แกะเป็น 2 คือ แบบแทนองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า จะมีพระเกศแหลมขึ้นไป และแบบแทนองค์พระอัครสาวก ก็จะเป็นพระปิดตาแบบเศียรโล้นธรรมดา นอกจากนี้ก็มี นางกวัก พระประจำวัน ฯลฯ ที่เป็นเครื่องรางของขลังนอกเหนือจาก “มีดหมอ” แล้วเห็นจะเป็น “สิงหราช” มี 2 แบบ คือ สิงหราชธรรมดา มีลวดลายก้นหอยตามตัว ขาทั้งสี่วางบนพื้นราบ กับสิงหราชคำรณ ซึ่งต่างกันตรงขาหน้าขาหนึ่งจะยกเท้าขึ้นในลักษณะกางเล็บออกตะครุบเหยื่อ ข้อสังเกตประการหนึ่งคือ “งาแกะสิงหราช” ที่หลวงพ่อเดิมสร้างจะไม่มีการลงจารใดๆ นอกเสียจากมีผู้นำมาให้ท่านลงเป็นกรณีพิเศษ ท่านก็จะลงเพียงอย่างเดียวที่ใต้ฐานสิงห์คือ “นะ มะ พะ ทะ” เท่านั้น การพิจารณา “งาแกะหลวงพ่อเดิม” เรียกได้ว่ายากเอาการอยู่ เนื่องด้วยการแกะนั้นเป็นงานฝีมือซึ่งแกะทีละตัวจึงไม่มีรูปแบบมาตรฐานเป็นที่แน่ชัด ช่างแกะก็เป็นช่างในอำเภอพยุหะคีรีทั้งนั้น อีกทั้งพระเกจิอาจารย์ที่เป็นศิษย์ของท่านซึ่งมีมากมายก็ล้วนสร้างมีดหมอและงาแกะเช่นเดียวกับพระอาจารย์ จึงนับว่าค่อนข้างยากที่จะพิสูจน์ว่าวัตถุมงคลใดเป็นของหลวงพ่อเดิม และบางครั้งก็มีการนำไปแอบอ้างด้วย ทุกท่านที่สนใจ อยากได้ วัตถุมงคล ของหลวงพ่อเดิม ที่แกะจากงา ก็โปรดใช้ความรอบคอบ พิจารณา พุทธลักษณะ ของพระพุทธที่แกะลงบนงาช้าง รูปสิงห์ รูปนางกวัก ความเก่า ความแห้ง ของงาที่มาของวัตถุมงคลนั้น ๆ จากผู้รู้ ผู้ที่ชำนาญ มีประสบการณ์ในเรื่องความเก่า ความแห้ง ของงา




วันศุกร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2558

พระบูชาหลวงพ่อเดิม








คาถาบูชา หลวงพ่อเดิม     ++พระบูชาหลวงพ่อเดิม++                

(วัดหนองโพ)

อิติอะระหัง สุขะโต พุทธสโร

หลวงพ่อเดิม นามะเต อาจาริโยเม

อายัสมา อาจาริโยเม ภันเตโหหิ

สวด ๑ จบ

 เมื่อครั้งที่หลวงพ่อเดิมยังมีชีวิตอยู่ ท่านได้จัดสร้างวัตถุมงคลมากมายหลายรุ่นท่านได้สร้างเครื่องรางของขลังมากมายเป็นที่เลื่องชื่อ มีประสบการณ์ความศักดิ์สิทธิ์ปรากฏอยู่มากมายเครื่องรางเหล่านี้ก็มี นางกวัก ราชสีห์ ตะกรุด ผ้ายันต์รอยเท้า มีดหมอ แหวน เป็นต้น จนเป็นที่เลื่องลือมากในเรื่องของความขลัง อันพระบูชาหลวงพ่อเดิมรุ่นแรกมีการสร้างออกมาน้อย ราคาก็ไม่ต้องห่วงสิบล้านขึ้นครับ 

ตะกรุดหลวงพ่อเดิม

ช้ลงตะกรุดหลวงพ่อเดิม แล้วเสกด้วยคาถามหานิยม
   “ความขลัง” ของหลวงพ่อประจักษ์แก่ตาและแก่ตนเอง แล้วเล่ากันต่อๆ ไป จนเป็นที่ประจักษ์แก่หูอยู่เป็นอันมาก เมื่อสมัยสงครามมหาเอเชียบูรพา มีประชาชนพากันไปหาหลวงพ่อวันละมากๆ นอกจากขอของขลังเช่นกล่าวแล้ว ยังพากันหาซื้อผ้าขาวผ้าแดง ผืนหนึ่งๆ ขนาดกว้างยาวราว ๑๒ นิ้วฟุต เอาน้ำหมึกไปทาฝ่าเท้าหลวงพ่อ แล้วยกขาของท่านเอาฝ่าเท้ากดลงไปให้รอยเท้าติดบนแผ่นผ้า บางคนก็กดเอาไปรอยเท้าเดียว บางคนก็กดเอาไปทั้งสองรอย แล้วก็เอาผ้าผืนนั้นไปเป็นผ้าประเจียดสำหรับคุ้มครองป้องกันตัว ฝ่าเท้าของหลวงพ่อต้องเปื้อนหมึกอยู่ตลอดทุกวัน

 หัวใจมนุษย์
   มนุญฺญํ ฯ
กะกาชิวฺหา ฯ




มีดหมอ หลวง พ่อ เดิม วัด หนอง โพธิ์

         มีดหมอ หลวง พ่อ เดิม วัด หนอง โพธิ์         
อักขระเลขยันต์ที่เป็นเอกลักษณ์ คือ คาถามงคล ๙ หรือ หัวใจอิติปิโส แต่หลวงพ่อเดิมท่านจะเรียกว่า คาถา “พระขรรค์เพชร” สำหรับลงมีดหมอโดนเฉพาะ ที่ “อะ สัง วิ สุ โล ปุ สะ พุ พะ” ในขณะที่สำนักอื่นๆ จะใส่ หัวใจ ๑๐๘ ซึ่งประกอบด้วยคาถา ๓ บท คือ คาถาพระเจ้า ๕ พระองค์ “นะ โม พุท ธา ยะ” คาถาธาตุ ๔ “นะ มะ พะ ทะ” และ คาถาหัวใจ ธาตุพระกรณี (หัวใจพระพุทเจ้า) ที่ว่า “จะ พะ กะ สะ” ส่วนธาตุกรณี จะใช้ว่า “จะ อะ พะ ตะ”

                           พุทธคุณมีดหมอหลวงพ่อเดิม วัดหนองโพ นั้น ดีในทุกๆ เรื่อง เช่น เป็นมหาอุดอยู่ยงคงกระพันชาตรี แคล้วคลาด ป้องกันเขี้ยวงา ป้องกันคุณไสย การกระทำย่ำยี ป้องกันภูตผีปีศาจร้ายได้ มีผู้เคยมีประสบการณ์ต่างๆ เหล่านี้มามากมาย วิธีอาราธนามีดหมอของหลวงพ่อเดิมเวลาจะไปไหนมาไหนให้ระลึกถึงหลวงพ่อเดิมแล้วว่า "พระพุทธังรักษา พระธรรมมังรักษา พระสังฆังรักษา ศัตรูมาบีฑาวินาศสันติ"

วันพฤหัสบดีที่ 4 มิถุนายน พ.ศ. 2558

งาแกะหลวงพ่อเดิม


สิงห์งาแกะ3ขวัญ   หลวงพ่อเดิม 
หลักการดูเขี้ยวและงาเก่ามีหลักการพิจารณาดังต่อไปนี้ 
สีของงาเก่าเขี้ยวเก่า
ลายงาหรือการแตกลายงา
วงปลีด้านในออกมาด้านนอก
ตรงกลางเขี้ยวจะเป็นวงกลม
เสือเล็ย 4  /16 โสรส
ยันต์มีลักษณะคล้ายกอหญ้า
ความมันวาวหรือฟิลม์
ความแกร่ง
ทนความร้อนสามารถทดสอบด้วยไฟได้
 ธรรมชาติอื่นๆประกอบ

หลวงพ่อเดิมรุ่นยายพวง


 หลวงพ่อเดิมรุ่นยายพวง


  รูปหล่อโบราณลอยองค์ หลวงพ่อเดิม วัดอินทาราม ปี พ.ศ. 2493
เป็นรุ่นสุดท้ายที่หลวงพ่อเดิมปลุกเสก ในช่วงนั้นหลวงพ่อเดิมได้มาบูรณะโบสถ์ที่วัดอินทาราม อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ ซึ่งท่านเป็นผู้สร้าง และมีความผูกพันธ์อยู่มาก เมื่อมีโอกาสท่านจะมาดูแลอยู่เสมอ ร้านพงษ์ศิลป์ ได้สร้างรูปหล่อโบราณลอยองค์หลวงพ่อเดิมถวาย และนิมนต์ให้หลวงพ่อเดิมปลุกเสก เพื่อแจกญาติพี่น้อง มิตรสหายจึงเป็นรุ่นสุดท้ายที่หลวงพ่อเดิมปลุกเสก ทางพื้นที่เรียกกันว่า รุ่นพงษ์ศิลป์ หรือรุ่นยายพวงมีอยู่ในพิพิธภัณฑ์ วัดอินทาราม อำเภอพยุหะคีรี จังหวัดนครสวรรค์ มีรายการประกวดที่นครสวรรค์เป็นประจำ หลวงพ่อป่วยด้วยโรคชราภาพ และท่านก็มรณะภาพใน ปี พ.ศ. 2494

วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ตำหนิ รูป หล่อ หลวง พ่อ เดิม


ตำหนิ รูป หล่อ หลวง พ่อ เดิม




ภาพจาก www2.g-pra.com

รูปเหมือนปั๊ม หลวงพ่อเดิม รุ่นเพดานโบสถ์ น่าจะถูกสร้างบรรจุบนเพดานเมื่อตอนฉลองโบสถ์ โดยพระบางส่วนจะมีการแจกในสมัยหลวงพ่อเดิมซึ่งเป็นพระที่เหลือจากการบรรจุไว้บนเพดานและได้ถูกพบเมื่อหลวงพ่อประเทืองได้ให้ช่างทำการซ่อมปรับปรุง บูรณะโบสถ์ โดยพบอยู่บนเพดานโบสถ์และใต้ฐานพระประธานในโบสถ์ มีจำนวนประมาณหลักร้อยองค์แต่เหลือจำนวนไม่มากเพราะช่างขโมยไปเกือบหมด สำหรับรอยจารมีทั้งที่ เป็นรอยจารเดิมสมัยหลวงพ่อน้อย และที่หลวงพ่อประเทืองมาจารใหม่ แล้วจึงนำไปสร้างกล่องใส่ เพื่อให้คนทำบุญ องค์ละ 5000 บาท มีทั้งที่เป็นเนื้อทองเหลืองและเนื้ออัลปาก้า ส่วนมากพระที่ถูกพบใต้ฐานพระประธานเนื้อพระจะแห้งและมีคราบดำติดอยู่มาก ส่วนที่พบบนเพดานผิวพระจะค่อนข้างสวยและสมบูรณ์กว่า โดยพระแท้จะปรากฏเส้นวิ่งในซอกแขนเห็นได้ชัดเจนทุกองค์

วันอังคารที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2558

เหรียญ พระหลวงพ่อเดิม รุ่นแรก 2470

  เหรียญเสมา พระหลวงพ่อเดิม รุ่นแรก 2470 
 เมื่อ พ.ศ.๒๔๗๐ คณะศิษย์จึงพร้อมใจกันขออนุญาตหลวงพ่อเดิม สร้างเหรียญรุ่นแรกขึ้น โดยแบ่งออกเป็น ๒ พิมพ์ คือ ๑. เหรียญพิมพ์เสมา เป็นศิษย์สายกรุงเทพฯ สร้าง และ ๒.เหรียญแมงกะบี้ เป็นศิษย์สายนครสวรรค์สร้าง

                           เหรียญเสมาด้านหน้ารูปหลวงพ่อนั่งสมาธิบนธรรมาสน์ ด้านบนมีอักขระยันต์มหาอุด "อุด ธัง อะ โธ" ใช้ทางมหาอุด มีข้อความ "หลวงพ่อ พระครูเดิม วัดหนองโพธิ์" ด้านหลังเป็นอักขระยันต์สองแถว คือ ๑.คาถาพระเจ้า ๕ พระองค์ ที่ว่า "นะ โม พุท ธา ยะ" มีพุทธครอบจักรวาล ๒.คาถากระทู้ ๗ แบก ที่ว่า “อิ ระ ชา คะ ตะ ระ สา” ใช้ทางแคล้วคลาด คงกระพัน

                           ส่วน พระปรกหลวงพ่อเดิม นั้น มีคาถาบทเดียว คือ พระเจ้า ๕ พระองค์ ที่ว่า “นะ โม พุท ธา ยะ” เขียนซ้อนกัน เรียกว่า ยันต์ตลก ซึ่งเป็นคนละตัว พุทธซ้อน ของหลวงพ่อแพ วัดพิกุลทอง ที่ใช้ตัว “พุทธ” ซ้อนกัน ๓ ตัว